วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จังหวัด จันทบุรี

แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ น้ำตกเขาบรรจบ            

น้ำตกเขาบรรจบเป็นน้ำตกที่เกิดจากสายน้ำตกและสายคลอง 3 สาย คือ น้ำตกตาเส่ง คลองกลาง และน้ำตกทับญวณ มีธารน้ำใสสะอาด ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ การเดินทางโดยเดินเท้าจากสำนักสงฆ์เขาบรรจบใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง  

ที่อยู่ : ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 บ้านตะบกเตี้ย ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี                                                     

การเดินทาง : การเดินทางโดยเดินเท้าจากสำนักสงฆ์เขาบรรจบใช้เวลาประมาณ 1 ชม.

แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ หาดเจ้าหลาว  

หาดเจ้าหลาวเป็นหาดทรายละเอียดสีแดง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของหาดทรายเมืองจันท์ เมื่อน้ำลงแนวสันทรายจะโผล่พ้นน้ำ ทอดเป็นแนวยาวไปจดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบน ส่วนชายหาดด้านตะวันออกเป็นแหลมหิน บริเวณสันเขาหาดเจ้าหลาวเป็นจุดชมทิวทัศน์ทะเลที่น่าชม หรือจะเดินเล่นตามเนินเขา หรือจะมานั่งตกปลาเก๋าก็ได้ จากหาดนี้ไปไม่ไกล สามารถออกไปดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้ หาดเจ้าหลาวเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เพราะมีทั้งที่พักและร้านอาหารทะเล ขึ้นชื่อในความสดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นปูดำ หมึก ปลากะรัง ปลากะพง  ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวคือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม สามารถหาเช่าเรือท้องกระจกได้ตามร้านอาหารหรือที่พักบริเวณริมหาด ค่าเช่าประมาณ 500-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ  อยู่ห่างจากอำเภอท่าใหม่ 17 กิโลเมตร ถัดมาจากหาดแหลมเสด็จ มีบรรยากาศเงียบสงบ เป็นหาดทรายสีนวล ยาวเหยียดสุดสายตา ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าว ผู้คนนิยมไปพักผ่อนกันที่นี่ในวันหยุด มีที่พักตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงระดับมาตรฐาน และร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว                                    

การเดินทาง: หาดเจ้าหลาว สามารถเข้าถึงได้สองเส้นทาง คือ จากถนนสุขุมวิทก่อนถึงตัวเมืองจันท์ราว 30 กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ 301 มีทางแยกขวาไปตามทางหลวง 3399 และจะพบป้ายทางแยกไปหาดต่าง ๆ เป็นระยะ และอีกเส้นทางหนึ่งคือ จากตัวเมืองเดินทางไปอำเภอท่าใหม่ระยะทาง 17 กิโลเมตร ต่อด้วยเส้นทางที่ไปเขื่อนวังโตนดและเลยไปจนถึงทะเลได้เช่นกัน



http://pirun.ku.ac.th/~g521465336/p6.htmlสืบค้นวันที่ 31 ตุลาคม  2555

  แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล สมาคม อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชีดีเด่น ของจังหวัดจันทบุรี  
นายธีรภัทร อุ่นใจ เป็นอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชีดีเด่น ของจังหวัดจันทบุรี  ประจำปี2555  เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2507มีอาชีพปลูกเงาะ อยู่บ้านเลขที่ 3/6 หมู่ที่ 8 บ้านตะเคียนทอง ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี 22210 จบการศึกษาปริญญาตรี   โทรศัพท์ 081-7622086
ผลงานดีเด่น
เป็นผู้ก่อตั้งชมรมครูบัญชีอาสาจังหวัดจันทบุรี เมื่อปี 2551 โดยเป็นประธานชมรมฯ ตั้งแต่ปี 2551 - 2554   
เป็นอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชีระดับจังหวัด ปี2551 - 2554   
เป็นรองประธานกรรมการชมรมครูบัญชีระดับภาคเป็นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
เป็นวิทยากรสอนบัญชีแก่เกษตรกรและเยาวชนใน อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เป็นผู้สร้างเครือข่ายบัญชีใน อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
มีความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านหมู่ 8 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ ทำบัญชีต้นทุนประกอบ อาชีพ มีการจัดเวทีชาวบ้านเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และขยายไปหมู่บ้านใกล้เคียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำบัญชี
2. เพื่อให้ประชาชนนำบัญชีมาปรับใช้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3. เพื่อเผยแพร่ภารกิจของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
คำคม "สร้างเครือข่ายขยายผล ปฏิบัติตนอย่างพอเพียง  หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ด้วยระบบบัญชี"
แหล่งอ้างอิงhttp://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/chanthaburi/main.php?filename=excellentสืบค้นวันที่ 31 ตุลาคม  2555
                    
แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน  วัดเขาสุกิม(ราษฎร์บูรณะคุราราม)  ศูนย์ฝึกอบรม แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี  
วัดเขาสุกิม อยู่ในเขตตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อ พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย โดยมี จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญภาวนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป บริเวณวัดกว้างขวาง ตั้งสูงขึ้นไปอยู่บน เชิงเขา มีพื้นที่ประมาณ 3,280 ไร่ ภายในวัดมีศาสนสมบัติ ศาสนวัตถุ และวัตถุโบราณล้ำค่าต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้มีวัตถุโบราณล้ำค่าต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้มีการจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไปกว่า 20 ท่าน เช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่วัน พระอาจารย์มั่น ฯลฯ เปิดให้ เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 8.00-18.00 น.
แหล่งอ้างอิงhttp://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=17581สืบค้นวันที่ 31 ตุลาคม  2555
แหล่งเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และประเพณี ประเพณีชักพระบาท
ประเพณีชักพระบาทตั้งอยู่ที่ ต.เกวียนหัก อ.ขลุง  ได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีชักพระของทางภาคใต้   โดยพิจารณาจากลักษณะรูปแบบในการประกอบพิธีกรรม  ซึ่งในประเพณีชักพระนั้นจะมีการนำเชือกมาผูกเรือพระแล้วลากไปยังสถานที่ที่กำหนด  ผู้ที่ทำการชักพระนั้นก็มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่  ซึ่งไม่มีการจำกัด  นอกจากนี้จะมีผู้ตีกลองประโคมตลอดทาง  เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งกำลังของผู้แข่งชักพระ    จากข้อสันนิษฐานข้างต้นจะเห็นว่า  ประเพณีชักพระบาทของชาวตะปอน  จังหวัดจันทบุรีนั้น     ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีมาจากประเพณีชักพระทางภาคใต้
 ความเชื่อของชาวตะปอนกับประเพณีชักพระบาท  ผ้าพระบาทจำลองนั้นเป็นของชาวตำบลตะปอนมาหลายร้อยปี หมู่บ้านใดนำรอยพระพุทธบาทไปทำบุญเพื่อบูชาหลังจากนั้นจึงขึ้นเกวียนที่ตกแต่งประดับประดาอย่างงดงาม แล้วทำการแห่ไปยังหมู่บ้านของตน โดยม้วนผืนผ้าพระบาทแล้วนำไปประดิษฐานบนเกวียน  ซึ่งประกอบด้วยกลองอีก 1 ใบ  จะไปทางไหนก็ช่วยกันลากจูงไปและตีกลองกันไปตลอดทาง  หมู่บ้านใดจะนำไปทำบุญบูชาก็จะพากันไปทั้งหญิงและชายพร้อมทั้งลูกหลานเพื่อช่วยกัน  ลากจูงเกวียนพระพุทธบาทซึ่งชาวบ้านเรียกว่าไปรับพระ  ซึ่งจะทำให้เกิดความสนุกสนาน  เพราะว่าผู้ที่มารับพระนั้นต้องลากจูงเกวียนพระพุทธบาทกลับไปยังหมู่บ้านของตน  ความเชื่อในการจัดพิธีกรรมนั้นถือเป็นพื้นฐานหนึ่งที่ชาวตะปอนยึดให้เป็นแบบแผนและขนบธรรมเนียมให้ประชาชนถือปฏิบัติสืบจนปัจจุบัน  ชาวบ้านที่ร่วมพิธีในพิธีกรรมนั้นต่างมีความศรัทธาในผืนผ้าพระพุทธบาทว่าเมื่อทำการสักการะบูชาแล้วจะเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว  นอกเหนือจากความสนุกสนานจากการชักเย่อเกวียนแล้วยังเกิดประโยชน์ในการส่งเสริมความสามัคคีจากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในหมู่บ้าน    อันส่งผลให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันประกอบกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่หมู่บ้านต่อไปด้วยความศรัทธาของชาวบ้านอันมีแก่ประเพณีชักพระบาทถือเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่งที่จะต้องปฏิบัติในงานประจำปีของชาวบ้านตำบลตะปอน เมื่อมีจิตใจอันศรัทธาแก่ผ้าพระพุทธบาท  ชาวบ้านจึงร่วมกันแข่งขันชักเย่อเกวียน อันเป็นการละเล่นหนึ่งในประเพณี  ชักพระบาทเหมือนเป็นการได้ออกกำลังไปด้วย  เป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในหมู่บ้าน  เห็นความสำคัญของการมีจิตศรัทธาร่วมกันแสดงถึงความตั้งใจและความอด ทนซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จ  คือชัยชนะ  แต่แฝงไปด้วยการรู้จักให้และเสียสละดังจะเห็นได้จากการให้ผ้าพระพุทธบาทไปยังหมู่บ้านอื่นๆ  ต่อไป 
แหล่งอ้างอิงhttp://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/Yatphirun_P/sec04p02.htmlสืบค้นวันที่ 31 ตุลาคม  2555