การศึกษานอกสถานที่
ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา และศึกษา ณ
หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกมหาวิทยาลัยบูรพา
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
สามารถเข้าชมศึกษาหาความรู้และความเพลิดเพลินได้มีเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล
รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
3.นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์
เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น
เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ
และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย
และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ
จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น
4.ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย
และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ
ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น
รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม
วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก
จุดเด่นโครงกระดูกวาฬแกลบ
ที่ตายในเขตน่านน้ำไทย จัดแสดงชั้นล่างหน้าห้องจำหน่ายตั๋ว
ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่และปลาฉลามครีบดำในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่
ความจุน้ำ 1,000 ตัน ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
ทัศนศึกษา ณ
หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก ม.บูรพา
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเป็นแหล่งการเรียนรู้เพราะ
เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออก เป็นแหล่งข้อมูล
ซึ่งอยู่ในประเภทแหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยภายในก็จะนำเสนอเกี่ยวกับ
ชนต่างวัฒนธรรมในภาคตะวันออก ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกได้แก่ คนชอง
คนจีน คนญวณ คนลาวและไทยมุสลิม
คนชอง
เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในเขตป่าภาคตะวนออก บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขา ที่ราบระหว่างหุบเขาซึ่งเป็นป่าทึบ
คนจีน
เข้ามาตั้งรกรากในภาคตะวันออกตั้งแต่อยุธยาสืบเนื่องถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะตามเมืองท่าชายทะเล ชาวจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้า การประมง
คนญวณ
สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มชาวญวณได้อพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยครั้งใหญ่และได้ตั้งถิ่นฐานกระจายกันออกไป
คนลาว
ดินแดนภาคตะวันออกตั้งแต่เขตนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ไปยังชลบุรีนั้นชุมชนบ้านเมืองส่วนใหญ่เกิดจากการกระจายตัวของพวกลาว
คนไทยมุสลิม
มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเชื้อสายมาจากมลายูและเขมร
เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในเขตป่าภาคตะวนออก บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขา ที่ราบระหว่างหุบเขาซึ่งเป็นป่าทึบ
คนจีน
เข้ามาตั้งรกรากในภาคตะวันออกตั้งแต่อยุธยาสืบเนื่องถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะตามเมืองท่าชายทะเล ชาวจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้า การประมง
คนญวณ
สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มชาวญวณได้อพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยครั้งใหญ่และได้ตั้งถิ่นฐานกระจายกันออกไป
คนลาว
ดินแดนภาคตะวันออกตั้งแต่เขตนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ไปยังชลบุรีนั้นชุมชนบ้านเมืองส่วนใหญ่เกิดจากการกระจายตัวของพวกลาว
คนไทยมุสลิม
มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเชื้อสายมาจากมลายูและเขมร
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
มีความสำคัญในฐานะที่แสดงถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลที่สะท้อนภาพความเป็นอยู่
และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณทีมีอายุถึง4,500 – 4,000 ปี
นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี
นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 4,500 – 4,000 ปี มาแล้ว ซึ่งพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลักและมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า 400 ปี
เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
นำเสนอเรื่องราวของเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสำคัญในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งมีพัฒนาการมาจากสถานีการค้าสำคัญ มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัย ทวารวดี
อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ
นำเสนออิทธิพลความเชื่อและศาสนาหลากหลายวัฒนธรรมที่เข้ามามีบทบาทในเมืองศรีมโหสถ ปรากฏเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น พระวิษณุจตุรภุช หรือพระวิษณุ 4 กร เป็นเทวรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์
นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 4,500 – 4,000 ปี มาแล้ว ซึ่งพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลักและมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า 400 ปี
เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
นำเสนอเรื่องราวของเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสำคัญในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งมีพัฒนาการมาจากสถานีการค้าสำคัญ มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัย ทวารวดี
อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ
นำเสนออิทธิพลความเชื่อและศาสนาหลากหลายวัฒนธรรมที่เข้ามามีบทบาทในเมืองศรีมโหสถ ปรากฏเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น พระวิษณุจตุรภุช หรือพระวิษณุ 4 กร เป็นเทวรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศ
บริเวณภาคตะวันออกนับเป็นดินแดนที่มีการติดต่อทางทะเลกับบ้านเมืองภายนอกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สืบเนื่องต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12อันเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีพัฒนาการร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากในภาคตะวันออกซึ่งดินแดนที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คือ อาณาจักรเขมรโบราณและวัฒนธรรมทวารวดี
บริเวณภาคตะวันออกนับเป็นดินแดนที่มีการติดต่อทางทะเลกับบ้านเมืองภายนอกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สืบเนื่องต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12อันเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีพัฒนาการร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากในภาคตะวันออกซึ่งดินแดนที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คือ อาณาจักรเขมรโบราณและวัฒนธรรมทวารวดี