วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



การศึกษานอกสถานที่

ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  มหาวิทยาลัยบูรพา และศึกษา ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกมหาวิทยาลัยบูรพา

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล สามารถเข้าชมศึกษาหาความรู้และความเพลิดเพลินได้มีเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
 1.นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล  โดย   ให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล สาหร่าย และหญ้าทะเล ฟองน้ำ สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา พะยูน เต่าทะเล และจระเข้น้ำเค็ม รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เป็นต้น   
  2. นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น
3.นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น
 
4.ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก
จุดเด่นโครงกระดูกวาฬแกลบ ที่ตายในเขตน่านน้ำไทย จัดแสดงชั้นล่างหน้าห้องจำหน่ายตั๋ว
ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่และปลาฉลามครีบดำในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่ ความจุน้ำ 1,000 ตัน ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
ทัศนศึกษา ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก ม.บูรพา
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเป็นแหล่งการเรียนรู้เพราะ เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออก เป็นแหล่งข้อมูล ซึ่งอยู่ในประเภทแหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยภายในก็จะนำเสนอเกี่ยวกับ ชนต่างวัฒนธรรมในภาคตะวันออก ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกได้แก่ คนชอง คนจีน คนญวณ คนลาวและไทยมุสลิม
        คนชอง
 เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในเขตป่าภาคตะวนออก บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขา ที่ราบระหว่างหุบเขาซึ่งเป็นป่าทึบ
 คนจีน
 เข้ามาตั้งรกรากในภาคตะวันออกตั้งแต่อยุธยาสืบเนื่องถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะตามเมืองท่าชายทะเล ชาวจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้า การประมง
 คนญวณ
 สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มชาวญวณได้อพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยครั้งใหญ่และได้ตั้งถิ่นฐานกระจายกันออกไป
 คนลาว
 ดินแดนภาคตะวันออกตั้งแต่เขตนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ไปยังชลบุรีนั้นชุมชนบ้านเมืองส่วนใหญ่เกิดจากการกระจายตัวของพวกลาว
 คนไทยมุสลิม
 มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเชื้อสายมาจากมลายูและเขมร
 
 
 
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีความสำคัญในฐานะที่แสดงถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลที่สะท้อนภาพความเป็นอยู่ และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ

แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณทีมีอายุถึง4,500 – 4,000 ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี
  นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุ
 4,500  4,000 ปี มาแล้ว ซึ่งพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลักและมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า 400 ปี
เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
   นำเสนอเรื่องราวของเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสำคัญในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งมีพัฒนาการมาจากสถานีการค้าสำคัญ มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัย ทวารวดี
  
 อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ
นำเสนออิทธิพลความเชื่อและศาสนาหลากหลายวัฒนธรรมที่เข้ามามีบทบาทในเมืองศรีมโหสถ ปรากฏเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น พระวิษณุจตุรภุช หรือพระวิษณุ
 4 กร เป็นเทวรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศ
  บริเวณภาคตะวันออกนับเป็นดินแดนที่มีการติดต่อทางทะเลกับบ้านเมืองภายนอกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สืบเนื่องต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12อันเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีพัฒนาการร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากในภาคตะวันออกซึ่งดินแดนที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คือ อาณาจักรเขมรโบราณและวัฒนธรรมทวารวดี
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น